สมุนไพรจัดว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูรักษาสุขภาพ แม้ยามเจ็บไข้ได้ป่วยก็สามารถใช้สมุนไพรรักษาโรคได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นผลิตผลที่มาจากธรรมชาติมีทั้งผักพื้นบ้าน และต้นหญ้า ที่ขึ้นอยู่ตามไร่ นา ป่า เขา หรือบางชนิดก็ปลูกไว้ริมรั้วบ้าน

สมุนไพรมีการใช้กันมาอย่างแพร่หลายตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และทุกวันนี้ประเทศไทยก็ยังมีการใช้ก็ยังนิยมใช้สมุนไพรหลายประเภทในการบรรเทาและรักษาโรค เพราะนอกจากราคาไม่แพงจนเกินไปแล้ว ยังเหมาะสำหรับคนที่ต้องการหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่สังเคราะห์มาจากสารเคมีซึ่งจะส่งผลต่อตับและไตในระยะยาวอีกด้วย

 

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับสมุนไพร ที่มีคำพ้องเสียง “ย่า กับหญ้า” ว่าทั้ง 2 แบบนี้มีดีอย่างไร

ย่านาง – ผักพื้นบ้านที่เป็นสมุนไพรใกล้ตัวช่วยปรุงแต่งกลิ่นรส อาหารพื้นบ้านไทยๆ มานานแสนนาน มีสรรพคุณมากมาย ตั้งแต่ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ รวมไปถึงรักษาโรคมะเร็ง ที่สำคัญยังเป็นสมุนไพรใกล้ตัวที่เมื่อนำมาปรุงเป็นอาหารแล้วยังมีรสชาติ อร่อยถูกปากได้หลายเมนู อาทิ แกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง แกงหอยขมใบย่านาง ซึ่งทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้ทดลองกับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า หลังจากดื่มน้ำย่านางต่อเนื่อง สามารถลดน้ำตาลในเลือดและลดความดันโลหิตได้

หญ้าปักกิ่ง หรือหญ้าเทวดา – หญ้าปักกิ่งเป็นไม้ล้มลุก มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ แถบ สิบสองปันนา ในตำรายาจีนปรากฏชื่อพืชสกุลเดียวกันนี้ ใบและต้นสดใช้รักษาอาการเจ็บคอ และมะเร็ง เป็นสมุนไพรที่มีสารสำคัญในการยับยั้งมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งในคอ ตับ มดลูก ลำไส้ ผิวหนัง เม็ดเลือด โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (สามารถรักษามะเร็งได้ในระดับหนึ่ง กำลังอยู่ระหว่างศึกษาวิจัย)


หญ้าหนวดแมว
– เป็นพืชที่ปลูกอยู่ทั่วไปตามบ้าน มีดอกขาวสวย ออกดอกเกือบทั้งปี มีฤทธิ์และประโยชน์ทางยา ใช้ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ใบอ่อน ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากมีเกลือ โปแตสเซียม มาก หญ้าหนวดแมว ใช้รักษานิ่วได้ทั้งนิ่วด่าง ซึ่งเกิดจากแคลเซียม (หินปูน) ซึ่งมักจะเป็นก้อนที่เกิดจากการดื่มน้ำที่มีหินปูน และใช้รักษานิ่วกรด ซึ่งเกิดจากกรดยูริก นิ่วจำนวนนี้จะไม่เป็นก้อน เมื่อรับประทานหญ้าหนวดแมว ซึ่งมีโปแตสเซียมสูง จะทำให้ในกรดมีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้กรดยูริก และเกลือยูเรต (urate) ไม่จับตัวเป็นก้อน ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมตกค้างในไต ช่วยขยายท่อไตให้กว้างขึ้น จึงช่วยบรรเทาอาการปวดในไต หญ้าหนวดแมว ไม่มีฤทธิ์ละลายนิ่ว ดังนั้น นิ่วก้อนใหญ่จะไม่ได้ผล ใช้ได้ดีกับนิ่วก้อนเล็ก ๆ ฤทธิ์ขับปัสสาวะของหญ้าหนวดแมว จะช่วยดันเม็ดนิ่วเล็ก ๆ ให้หลุดออกมา ผลการศึกษาวิจัยหญ้าหนวดแมวพบว่าผู้ป่วย ที่เป็นนิ่ว รับประทานยาชงหญ้าหนวดแมวทุกวัน วันละ 3 เวลา 2-6 เดือน ผลพบว่า ได้ผลดี สามารถลดขนาดนิ่ว 23 ราย มีนิ่วหลุด 40% มีอาการดีขึ้น 20%

“ย่า กับหญ้า” แม้จะมีประโยชน์ทางยา แต่การใช้สมุนไพรก็ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และศึกษาถึงวิธีการใช้ สรรพคุณ และอันตราย รวมทั้งขนาดในการใช้ให้ถ่องแท้เสียก่อน เพราะของทุกอย่างบนโลกนี้มีคุณอนันต์ก็อาจมีโทษมหันต์ค่ะ