นางพรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อํานวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่าเมื่อวันที่๒๗ ก.ค.ว่า สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้คัดเลือกนักเรียนและจัดส่งผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ จํานวน ๔ คน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๘ ก.ค. ๒๕๕๓ โดยมีเยาวชนจํานวน ๒๖๗ คน จาก ๖๘ ประเทศเข้าร่วมการแข่งขันผลปรากฏว่าผู้แทนประเทศไทยสามารถทําได้ ๓ เหรียญทอง ๑ เหรียญเงิน

ดังนี้ เหรียญทอง ประกอบด้วยนายอลิฟ น้อยคํา นักเรียนชั้น ม.๖ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ นายเขตภากร ชาครเวท นักเรียน ม.๖ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และ น.ส.พิณนรี เตี่ยมังกรพันธุ์ นักเรียนชั้น ม.๖ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ส่วนเหรียญเงิน คือ นายจิราบริรักษ์ เจริญภัทรปรีดา นักเรียนชั้น ม.๖ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยเฉพาะ น.ส.พิณนรี ยังได้รับรางวัลผู้ทําคะแนนสอบภาคทฤษฎีได้เต็มอีกด้วย สําหรับประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด ๓ ลําดับแรก คือ จีน รัสเซีย และเกาหลีใต้นางพรพรรณ กล่าวต่อไปว่า คณะอาจารย์ที่ร่วมเดินทางไปดูแลนักเรียนประกอบด้วย ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ สมสุขจากมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหัวหน้าทีม รศ.ดร.ธรรมรัตน์ อารีย์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองหัวหน้าทีม ผศ.ดร.ยงศักดิ์ ศรีธนาอนันต์ และ ผศ.ดร.อรุณศิริ ชิตางกูร จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยหัวหน้าทีม อาจารย์สุพรรณี ชาญประเสริฐ จาก สสวท.ผู้จัดการทีม ทั้งนี้ทั้งหมดได้เดินทางกลับถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๘ ก.ค.เวลา ๒๑.๒๕ น. เที่ยวบิน ทีจี ๖๗๗ โดย สสวท.จะจัดพิธีต้อนรับ ณ ชั้น ๒ ด้านในประตูที่ ๑ สนามบินสุวรรณภูมิ

รายชื่อและรายละเอียดของผู้แทนทั้ง ๔ คน

นางสาวพิณนรี เตี่ยมังกรพันธุ์
นางสาวพิณนรี เตี่ยมังกรพันธุ์
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (เหรียญทอง)
นายเขตภากร ชาครเวท
นายเขตภากร ชาครเวท
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (เหรียญทอง)
นายอลิฟ น้อยคำ
นายอลิฟ น้อยคำ
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (เหรียญทอง)
นายจิราบริรักษ์ เจริญภัทรปรีดา
นายจิราบริรักษ์ เจริญภัทรปรีดา
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (เหรียญเงิน)

ผลการแข่งขันเคมีโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ ปี 2553

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) คัดเลือกผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันเคมีโอลิมปิกวิชาการ ปี 2553

สถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) คัดเลือกผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันเคมีโอลิมปิกวิชาการ ปี 2553 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-28 ก.ค. ที่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 4 คน

น้องพินพิน น.ส.พิณนรี เตี่ยมังกรพันธุ์ สาวน้อยคนเดียวของทีม จบชั้น ม.6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เคยเป็นผู้แทนประเทศไทย วิชาเคมี และคว้ารางวัลเหรียญเงินโอลิมปิกวิชาการเมื่อปีที่แล้ว พินพินมีมุมมองเกี่ยวกับโอลิมปิกวิชาการที่มักถูกมองว่าเป็นกิจกรรมสำหรับ เด็กเก่งที่ถูกสังคมการศึกษากดดันว่า โครงการโอลิมปิกวิชาการเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ เช่นเดียวกับดนตรี หรือกีฬา ที่เปิดโอกาสให้เด็กไขว่คว้าหาฝันของตนเอง ตลอดเวลาที่เข้าร่วมโครงการ พบว่ามีบทเรียนชีวิตแทรกอยู่ และเป็นประสบการณ์อันล้ำค่ามากกว่าความรู้ทางวิชาการเสียอีก

“การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการทำให้เด็กรุ่นใหม่ตื่นตัวที่จะเรียนวิชาเหล่านี้ มากขึ้น หลายคนค้นพบตัวเอง เพราะการแข่งขันทำให้เด็กต้องเตรียมตัวเองให้มีความรู้ในสาขาวิชานั้นอย่าง ลึกซึ้ง ต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิต ศาสตร์ ในรูปแบบที่แตกต่างจากในโรงเรียน ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนๆ ครูอาจารย์ที่เชี่ยวชาญวิชานั้นๆ ด้วย” นอกจากสนุกกับการเรียนแล้ว พินพินยังถนัดเปียโนและชอบดนตรีด้วย

น้องจ๊อบ นายเขตภากร ชาครเวท ชั้น ม.6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา บอกว่า การเป็นผู้แทนประเทศไทยช่วยเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ โดยเฉพาะวิชาเคมีที่ชื่นชอบ ได้ฝึกทำการทดลอง การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการช่วยกระตุ้นกลุ่มเด็กที่สนใจวิทยาศาสตร์อย่างมาก โดยเฉพาะเด็กที่มีความสามารถสูงด้านวิทยาศาสตร์ ในเด็กกลุ่มที่สนใจด้านอื่นควรมีโครงการอื่นมารองรับด้วย

จ๊อบมองว่าการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ทำให้นักเรียนไม่เบื่อ ควรเริ่มจากคุณครูที่เริ่มสอนกฎพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ ตามด้วยกฎหรือทฤษฎีต่างๆ ที่ซับซ้อนขึ้น และควรนำทฤษฎีที่เรียนมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ สำหรับนักเรียนสายวิทยาศาสตร์เองควรมีความคิด สร้างสรรค์ รู้จักประยุกต์ความรู้เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ และฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น เพื่อทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุก ท้าทายความสามารถและจินตนาการ

น้องกอล์ฟ นายจิราบริรักษ์ เจริญภัทรปรีดา ชั้น ม.6 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กล่าวว่า ชอบวิชาเคมีมากที่สุดเพราะเรียนแล้วรู้สึกสนุก โดยเฉพาะเวลาที่นั่งทำโจทย์เคมี ข้อไหนที่ยากยิ่งรู้สึกท้าทาย แต่ที่ชอบมากกว่าคือการทดลอง เพราะเชื่อว่าการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ดีต้องลงมือปฏิบัติจริง ทำให้ได้เห็นในสิ่งที่ร่ำเรียนมาทางทฤษฎี การทดลองทางเคมีก็น่าตื่นเต้นมากด้วย

อีกหนึ่งกิจกรรมที่กอล์ฟปฏิบัติสม่ำเสมอคือการรับหน้าที่เป็นติวเตอร์วิชา เคมีให้น้องๆ ที่โรงเรียนตั้งแต่ตอนเรียนอยู่ชั้น ม.4

“ตอนที่สอนแรกๆ รู้สึกเกร็ง แต่เมื่อสอนไปได้ 2-3 ครั้งก็รู้สึกคุ้นเคยและสนุกดี นอกจากนี้ก็ติวให้กับเพื่อนๆ ในห้องเรียนบ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงก่อนสอบกลางภาคและสอบปลายภาค”

ช่วงว่างๆ กอล์ฟยังชอบเตะฟุตบอล และเป็นแฟนทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด “ฟุตบอลไทยก็ติด ตามครับ และอยากให้ทีมไทยได้ไปฟุตบอลโลก”

นายอลิฟ น้อยคำ จบชั้น ม.6 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม เล่าว่า ชอบเรียนเคมี เพราะชอบทดลอง ชอบทำแล็บมากเพราะท้าทาย ไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่าผลที่ได้จะเป็นตามที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในแต่ละสถานการณ์ เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่ทฤษฎีเป็นพื้นฐานของการทดลอง ไม่สามารถทิ้งได้ จึงต้องให้ความสำคัญทั้งสองส่วน

แม้จะเป็น “เด็กเรียน” แต่อลิฟมีชีวิตประจำวันเช่นเด็กวัยรุ่นทั่วไป โดยใช้เวลาหลังเลิกเรียนเล่นบาสเกตบอลกับเพื่อนๆ อาจเล่นเกมบ้างบางครั้งเพื่อผ่อนคลาย แต่ต้องเป็นเวลาที่ว่างจากการอ่านหนังสือ