ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กล่าวรายงานว่า การแข่งขันกีฬาเยาวชนโอลิมปิก ครั้งที่ ๑ (1St Youth Olympic Games 2010) เป็นกีฬาที่คณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศ หรือ International Olympic Committee จัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรก ที่สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ระหว่างวันที่ ๑๔-๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ ซึ่งรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนงบประมาณผ่านกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อให้คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดส่งนักกีฬาเยาวชนทีมชาติไทยที่ผ่านการคัดเลือกจาก สหพันธ์กีฬานานาชาติ (International sport Federation) ของกีฬาชนิดต่างๆ โดยมีการแข่งขันทั้งสิ้น ๒๖ ชนิดกีฬา ที่มีการจัดการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ซึ่งคาดว่าจะมีนักกีฬาเยาวชนจากทั่วโลกที่มีอายุระหว่าง ๑๔-๑๘ ปี เข้าร่วมการแข่งขันประมาณ ๓,๕๐๐ คน โดยการแข่งขันกีฬาในครั้งนี้จะมีนักกีฬาของไทยเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน ๓๕ ราย แบ่งออกเป็น ดังนี้ นักกีฬาชาย จำนวน ๑๔ ราย นักกีฬาหญิง จำนวน ๒๑ ราย และเจ้าหน้าที่ จำนวน ๑๙ ราย รวมทั้งสิ้น จำนวน ๕๔ ราย ซึ่งทำการแข่งขัน ๑๖ ชนิดกีฬา ได้แก่ เรือใบ วินด์เซิร์ฟ ยิงปืน เทเบิลเทนนิส ยกน้ำหนัก เทควันโด เทนนิส ยกน้ำหนัก ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นในเรื่องการจัดกิจกรรมเพื่อการศึกษาและวัฒนธรรมสำหรับเยาวชนที่ จะเข้าร่วมการแข่งขันด้วย เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการศึกษา ขนบธรรมเนียบประเพณีและวัฒนธรรมของไทยกับนักกีฬาเยาวชนจากนานาประเทศทั่วโลก รวมทั้งยังจะเป็นการช่วยประสัมพันธ์ประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย

รายงานผลการแข่งขันกีฬาเยาวชนโอลิมปิก ครั้งที่ ๑ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ ๒๖ ส.ค. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการชิงชัย และมีพิธีปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการที่ มารีน่า โดย ฌักส์ ร็อกก์ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) และ ลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ได้ร่วมกันเป็นประธาน มีการแสดงที่สวยงาม ๓ ชุด คือ “การก่อเกิดของเปลวไฟ”, “ความทรงจำและเราจะกลับมาพบกันอีกครั้ง”, “สนธิสัญญา” ก่อนจะส่งมอบธงการเป็นเจ้าภาพให้กับประเทศจีน ที่จะจัดการชิงชัย ครั้งที่ ๒ ที่เมืองนานกิง ปี ๒๐๑๔

นายธนา ไชยประสิทธิ์ หัวหน้าคณะนักกีฬาไทย ได้กล่าวว่า รัฐบาลต้องมีโครงการรองรับนักกีฬาชุดนี้ ซึ่งเป็นอนาคตของวงการกีฬาไทย และควรเตรียมนักกีฬาในการแข่งขันครั้งต่อไปที่จะมีขึ้นอีก ๔ ปีข้างหน้า ด้วยการให้เก็บตัวฝึกซ้อมมากกว่า ๖ เดือน ซึ่งจะทำให้นักกีฬามีความพร้อมมากขึ้น ส่วนนายนพปฎล คุณวิบูลย์ เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ทางกลุ่มทูตประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนที่ประจำอยู่ที่สิงคโปร์ ได้แสดงความยินดีกับ ประเทศไทย ที่ทำได้ถึง เหรียญทอง ๓ เหรียญเงิน แสดงให้เห็นว่ากลุ่มประเทศอาเซียนมีศักยภาพสูงไม่ด้อยไปกว่าภูมิภาคอื่น ๆ

สำหรับทัพกีฬาไทยที่ได้คว้ามาได้ ๔ เหรียญทอง ๓ เหรียญเงิน ได้อันดับ ๑๔ จาก ๒๐๕ ชาติ แต่เป็นอันดับ ๑

ของอาเซียน และเป็นอันดับ ๔ ของทวีปเอเชีย

สรุปอันดับเหรียญรางวัล (เหรียญ ทอง-เงิน-ทองแดง)
๑. จีน (๓๐-๑๖-๕),
๒. รัสเซีย (๑๙-๑๕-๑๑)
๓. เกาหลีใต้ (๑๑-๔-๔)
๔. .ยูเครน (๑๐-๙-๑๔)
๕. ออสเตรเลีย (๘-๑๓-๘)
๖.คิวบา (๘-๓-๒)
๗.ญี่ปุ่น ( ๗-๕-๓)
๘.อิตาลี (๖-๙-๕)
๙.ฮังการี (๖-๔-๖)
๑๐. ฝรั่งเศส ( ๖-๒-๗)

 

ส่วนเจ้าภาพ สิงคโปร์ ได้อันดับที่ ๖๒ คือ ๒ เหรียญเงิน ๕ เหรียญทองแดง ขณะที่สหรัฐ ได้อันดับที่ ๑๓

มี ๔ เหรียญทอง ๘ เหรียญเงิน ๙ เหรียญทองแดง

นายกนกพันธุ์ จุลเกษม ผู้ว่าการ กกท. ได้เปิดเผยถึงการเตรียมการต้อนรับคณะนักกีฬาและเจ้าหน้าที่

ที่ได้รับรางวัล จากกีฬายูธโอลิมปิก ครั้งที่ ๑ โดยได้ ๔ เหรียญทองจาก “น้องจูน” วรวงษ์ พงษ์พานิช (เทควันโด รุ่น ๔๙ กก.), ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย (แบดมินตัน หญิงเดี่ยว), พิสิษฐ์ พูดฉลาด (แบดมินตัน ชายเดี่ยว), “น้องดาว” ศิริพร แก้วดวงงาม (วินเซิร์ฟ) และ ๓ เหรียญเงินจาก สิริวิมล ประมงคล (ยกน้ำหนัก รุ่น ๔๘ กก.), ชิดชนก พูลทรัพย์สกุล (ยกน้ำหนัก รุ่นมากกว่า ๖๓ กก.) , จตุภูมิ ชินวงศ์ (ยกน้ำหนัก รุ่นมาก กว่า ๗๗ กก.) นั้น ทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวมทั้ง กกท. จะจัดพิธีต้อนรับให้กับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ ในวันที่ ๒๗ ส.ค. นายกนกพันธุ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขั้นตอนต่างๆ นั้น จะเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๓.๔๕ น. ทันทีที่นักกีฬาและเจ้าหน้าที่เดินทางมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ “เสธ.หนั่น” พล.ต.สนั่น ขจร ประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี, นายชุมพล ศิลปอาชา รวม.การท่องเที่ยวและกีฬา รวมทั้งผู้ใหญ่ในวงการกีฬาจะให้การต้อนรับ มีขบวนกลองยาว, การคล้องพวงมาลัยรับขวัญ จากนั้นจะนำนักกีฬาทั้งหมดขึ้นรถแห่ไปถึงอาคารนิมิตบุตร จากนั้นมีการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณและเข็มทองคำ ให้กับนักกีฬา ๓๕ คน โดยตลอดระยะทางที่เดินทางมาอาคารนิมิบุตร จะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชื่นชมกับความสำเร็จของเยาวชนไทยด้วย